ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป

สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี


1. ที่ตั้ง

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ เป็นตำบลขนาดกลาง อยู่ห่างจากอำเภอบ้านดุงไปทางทิศเหนือประมาณ 18 กิโลเมตร ตำบลบ้านจันทน์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 41190 เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี การปกครองแบ่งออกเป็น 15 หมู่บ้าน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอหนองหาน มีระยะห่างจากอำเภอหนองหาน ประมาณ 12 กิโลเมตร

2. เนื้อที่

ตำบลบ้านจันทน์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 61,875 ไร่ หรือ 99 ตารางกิโลเมตร

3. สภาพภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบต่ำและสูง  บางส่วนมีป่าโปร่ง  มีแม่น้ำไหลผ่านทางทิศตะวันออก 1  สาย คือ  แม่น้ำสงคราม  ซึ่งในบริเวณลุ่มน้ำสงครามเป็นที่ราบต่ำ จึงมีน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี  ทำให้เกิดระบบนิเวศน์ที่มีลักษณะเฉพาะและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำที่สำคัญ  มีฝายเก็บน้ำขนาดใหญ่จากลำห้วยทวน  คือ ฝายห้วยทวน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินบางส่วน  และเขตป่าสงวนบางส่วน

โดยทั่วไปมีลักษณะภูมิอากาศของตำบลบ้านจันทน์มี  3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน สภาพอากาศจะร้อนและแห้งแล้ง  ส่วนฤดูฝนเริ่มในเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม หากปริมาณน้ำฝนมากจะเกิดภาวะน้ำท่วมในบริเวณที่ราบลุ่ม  ฤดูหนาวเริ่มในเดือนพฤศจิกายน – มกราคม  อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง

4. อาณาเขต

มีลักษณะพิเศษเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มีพื้นที่ติดต่อ 3 จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสกลนคร และจังหวัดหนองคาย โดยมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ           ติดกับอาณาเขตอำเภอโพนพิสัย  จังหวัดหนองคาย
ทิศใต้              ติดกับอาณาเขตตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันออก     ติดกับอาณาเขตอำเภอบ้านม่วง  จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก       ติดกับอาณาเขตตำบลถ่อนนาลับ  อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี


5. เขตการปกครอง

ตำบลบ้านจันทน์  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  18 หมู่บ้าน  ได้แก่
หมู่ที่  1          บ้านจันทน์
หมู่ที่  2          บ้านโนนศึกษา
หมู่ที่  3          บ้านทรายมูล
หมู่ที่  4          บ้านตูม
หมู่ที่  5          บ้านหนองกา
หมู่ที่  6          บ้านโนนสิมมา
หมู่ที่  7          บ้านหัวฝาย
หมู่ที่  8          บ้านดงยาง
หมู่ที่  9          บ้านเหล่าอุดม
หมู่ที่  10         บ้านบ่อศิลา
หมู่ที่  11         บ้านดงหวาย
หมู่ที่  12         บ้านทรัพย์สมบูรณ์
หมู่ที่  13         บ้านนาเจริญ
หมู่ที่  14         บ้านสายน้ำผึ้ง
หมู่ที่  15         บ้านดงบาตร
หมู่ที่  16         บ้านนาสีทอง
หมู่ที่  17         บ้านทรายทอง
หมู่ที่  18         บ้านโนนสิมมาเหนือ

6.  อาชีพ

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุด รองลงมา คือ ยูคาลิปตัส ยางพารา และพืชอื่นๆ ได้แก่ อ้อย ไม้ผลไม้ยืนต้น และพืชผัก ตามลำดับ

7. หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์

ระบบเศรษฐกิจ เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) ศาสนา  ประเพณี  วัฒนธรรม

ระบบเศรษฐกิจ
(1)  การเกษตร
- ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรม  มีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุด  รองลงมาคือ ยางพารา  ยูคาลิปตัส อ้อย  ปาล์มน้ำมันและพืชอื่น ๆ
(2)  การประมง
-  การประมงในเขตตำบลบ้านจันทน์มีส่วนใหญ่ราษฎรจะทำประมงน้ำจืดในแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งเป็นการประมงเพื่อการบริโภคเป็นส่วนมาก เหลือจากบริโภคจึงนำไปจำหน่าย
(3)  การปศุสัตว์
-  ตำบลบ้านจันทน์มีการเลี้ยงไก่มากที่สุด  รองลงมา คือ  โคเนื้อ  สุกร และกระบือตามลำดับ
(4)  การบริการ
- ร้านค้า                                   119      แห่ง
- ร้านเสริมสวย                              8      แห่ง
- ร้านอินเตอร์เน็ต                          3      แห่ง
- สระว่ายน้ำ                                 1      แห่ง
- ร้านซ่อมรถยนต์/จักรยานยนต์       12      แห่ง
- โรงสีข้าว                                  21      แห่ง
(5)  การท่องเที่ยว
- แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร  ได้แก่ ฟาร์มตัวอย่างตำบลบ้านจันทน์  
- แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  ได้แก่ ลำน้ำสงคราม  หนองแซง  
- การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ ประเพณีบุญเพ็งธาตุและประเพณีบุญบั้งไฟ ในวันขึ้น 15  ค่ำ  เดือน  7  ของทุกปี
(6)  อุตสาหกรรม
- การอุตสาหกรรมเป็นอุสาหกรรมขนาดเล็กในครัวเรือน  ได้แก่ โรงสีข้าว  โรงทำขนมจีน
(7)  การพาณิชย์/กลุ่มอาชีพ
- กลุ่มแปรรูปกล้วย บ้านทรัพย์สมบูรณ์
- กลุ่มสานกระเป๋าจากเส้นพลาสติก บ้านดงยาง
- กลุ่มพานบายศรีจิ๋ว  บ้านทรายมูล
- กลุ่มทอเสื่อกก  บ้านโนนศึกษา ,บ้านตูม
- กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ตำบลบ้านจันทน์
(8)  แรงงาน
- แรงงานส่วนมากจะเป็นแรงงานในพื้นที่  และมีแรงงานบางส่วนที่ไปทำงานต่างจังหวัด  ทำให้ขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรบางช่วง
เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
(1)  ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้านหรือชุมชน
(2)  ข้อมูลด้านการเกษตร
-  มีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรประมาณ  61,875  ไร่  ได้แก่ ทำนา  ทำไร่ ปลูกไม้ผล  ไม้ยืนต้น พืชผัก  ยางพารา  ปาล์มน้ำมัน และอื่น ๆ
(3)  ข้อมูลแหล่งน้ำทางการเกษตร
-  มีพื้นที่แหล่งน้ำทางการเกษตร  ประมาณ 600 ไร่
-   หนองน้ำ        7   แห่ง
-  ลำห้วย/ลำน้ำ     4  แห่ง
(4)  ข้อมูลแหล่งน้ำกินน้ำใช้  (หรือน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค)
-  ประปาหมู่บ้าน  21  แห่ง
-  บ่อน้ำตื้น
-  บ่อบาดาล

ศาสนา  ประเพณี วัฒนธรรม
(1)  การนับถือศาสนา
- ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  
(2)  ประเพณีและงานประจำปี
- งานประพณีของและงานประจำปีที่สำคัญของตำบลบ้านจันทน์  คือ ประเพณีบุญเพ็งธาตุและบุญบั้งไฟ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 15  ค่ำ เดือน  7
(3)  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
- ในตำบลบ้านจันทน์ได้มีการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายมาถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามที่ลูกหลานได้ปฏิบัติกัน เช่น ด้านศิลปะ วัฒนธรรม  และขนบธรรมเนียมประเพณี การประกอบอาชีพ ภาษาถิ่น ได้แก่ ภาษาถิ่นอีสาน
(4) สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
- สิ้นค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกของตำบลบ้านจันทน์ ส่วนมากจะเป็นสินค้าทางการเกษตร และหัตกรรม เช่น เครื่องจักสาน เสื่อกก กระเป๋าสานจากเส้นพลาสติก กล้วยฉาบ กล้วยอบ

ทรัพยากรธรรมชาติ
(1)  น้ำ
มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำสงคราม ลำห้วย หนองน้ำ แหล่งน้ำสาธารณะ ได้แก่ ฝายกักเก็บน้ำ สระน้ำสาธารณะ และมีแหล่งน้ำส่วนบุคคล ได้แก่ บ่อน้ำตื้น  และบ่อบาดาล  เกือบทุกครัวเรือน
(2)  ป่าไม้
เนื่องจากพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านจันทน์อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน และเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น จึงยังมีป่าเต็งรังที่มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง นอกจากนี้ยังมีป่าบุ่งทามซึ่งเป็นระบบนิเวศน์ที่มีลักษณะเฉพาะอยู่ตามบริเวณลุ่มน้ำสงคราม  
(3)  คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติของตำบลบ้านจันทน์ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร เนื่องจากมีปัญหาที่เกิดขึ้นหลายประการ เช่น  
1.  ปัญหาภัยแล้งในช่วงฤดูแล้ง และปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน
2.  แหล่งน้ำตื้นเขิน
3.  ดินเสื่อมคุณภาพเนื่องจากการใช้สารเคมี
4.  มลภาวะในชุมชน  

8.  คมนาคม

เส้นทางการคมนาคมหลัก คือ เส้นทางสายอำเภอบ้านดุง-บ้านม่วง การเดินทางโดยรถโดยสาร มีรถโดยสารประจำทางสาย 296 อุดรธานี-คำตากล้า มีถนนสายสำคัญ 1 สาย และรถโดยสารขนาดเล็กวางผ่านอย่างสม่ำเสมอ

9.  สภาพทางสังคม

1.  การศึกษา

-  โรงเรียนประถมศึกษา                                               จำนวน  4  แห่ง
-  โรงเรียนขยายโอกาส                                               จำนวน  3  แห่ง
-  โรงเรียนมัธยมศึกษา                                                จำนวน  1  แห่ง
-  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                                  จำนวน  7  แห่ง
-  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย        จำนวน  1  แห่ง

2.  สถาบันและองค์การทางศาสนา

-  วัด/สำนักสงฆ์                             จำนวน   20  แห่ง
-  ประเพณีลอยกระทงแข่งเรือยาวสองฝั่งสงคราม (งานประเพณีประจำปี)

3.  สาธารณสุข

-  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.)  จำนวน  2  แห่ง
-  ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน      จำนวน  18  แห่ง
-  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ  100 %

4.  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

-  จุดตรวจประจำตำบลบ้านจันทน์    1 แห่ง (ตำรวจชุมชน)

5.  สังคมสงเคราะห์

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ ได้จัดตั้งศูนย์บริการผู้พิการขึ้นโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี  เพื่อให้การช่วยเหลือ  และสนับสนุนผู้พิการในด้านต่าง ๆ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และได้ให้การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ โดยได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

10.  ข้อมูลอื่นๆ

1.  การโทรคมนาคม

-  เส้นทางการคมนาคมหลัก  คือ เส้นทางสายอำเภอบ้านดุง – อำเภอบ้านม่วง การเดินทางโดยรถยนต์โดยสารประจำทางสาย 296  อุดรธานี – คำตากล้า มีถนนสายสำคัญหนึ่งสายและมีรถโดยสารขนาดเล็กวิ่งผ่านอย่างสม่ำเสมอ
-  ถนนลาดยาง                จำนวน    6      กิโลเมตร
-  ถนนคอนกรีต               จำนวน    60    กิโลเมตร
-  ถนนลูกรัง                   จำนวน    100   กิโลเมตร
-  ถนนลำเลียงการเกษตร  จำนวน    250   กิโลเมตร

-  โทรศัพท์ มีระบบการสื่อสารแบบไร้สายครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

-  การประปา มีระบบประปาหมู่บ้าน  จำนวน  15  แห่ง ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

-  ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์ ในตำบลบ้านจันทน์ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์ที่ทำการไปรษณีย์ที่ประชาชนใช้บริการที่ใกล้ที่สุด คือ ที่ทำการไปรษณีย์อำเภอบ้านดุง ตั้งอยู่ที่เทศบาลเมืองบ้านดุง อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี
-  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข   จำนวน  1  แห่ง

2.  การไฟฟ้า

-  ไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้านและกำลังขยายในหมู่บ้านโดยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
-  จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง   จำนวน   18   แห่ง
-  มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน   จำนวน 3,935  ครัวเรือน

3. ลักษณะแหล่งน้ำธรรมชาติและสร้างขึ้น

มี 2  ลักษณะ  คือ
1. แหล่งน้ำธรรมชาติ  ได้แก่  ลำห้วย  ลำน้ำ   บึง   หนอง  
2. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น  ได้แก่  ฝาย บ่อบาดาล  บ่อน้ำตื้นสระกักเก็บน้ำ

แหล่งน้ำตามธรรมชาติ
-  ลำน้ำ,ลำห้วย              จำนวน  15   สาย
-  บึง  หนองและอื่น ๆ      จำนวน  20   แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นและใช้การได้
-  ฝาย               จำนวน    7  แห่ง
-  บ่อบาดาล        จำนวน  14  แห่ง

4. ลักษณะของป่าไม้

ตำบลบ้านจันทน์ มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวน แต่ปัจจุบันมีสภาพเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม บางพื้นที่มีป่าโปร่ง